มนุษย์แม่รำพึง

หนูไม่ได้เถียงนะแม่ หนูแค่อธิบาย


หลังจากเกิดวาระเร่งด่วนในบ้านเรา เมื่อเด็กน้อยของเราเริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป อาจจะด้วยช่วงวัยของลูก 10 ขวบ คงเป็นช่วงเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่วัยรุ่น สิ่่งที่เราสังเกตลูกได้ว่า เริ่มเปลี่ยนไปคือ

➟ เริ่มมีความคิดเห็นในทุกเรื่องมากขึ้น
➟ แม่บอกอย่าง ลูกก็ทำอีกอย่าง
➟ เริ่มแสดงถึงอารมณ์หงุดหงิดง่ายขึ้น
➟ เริ่มมีเรื่องที่ไม่อยากเล่าให้แม่ฟังอยู่บ้าง
➟ เริ่มมีคำถามกับแม่ ในเรื่องราวที่ดูแตกต่างไปจากเดิม

ด้วยพื้นฐานที่เราดูแลกันมาอย่างใกล้ชิด ความเปลี่ยนแปลงนี้จึงถูกหยิบมาคุยกัน เพื่อหา “จุดกึ่งกลาง” ระหว่าง เราสามคน พ่อแม่ลูก โดยที่แม่เองก็เสมือน “คนกลาง” ระหว่างคนสองวัยในครอบครัว

★ แม่และพ่อ ต้องคุยกัน ★

เราสอนลูก เลี้ยงลูกให้กล้าที่จะบอก กล้าที่จะพูดกับเรา วันนี้เราก็ต้องยอมรับฟังเขา และต้องเผื่อใจด้วยว่า เขายังควบคุมสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในตัวเองไม่ได้ อารมณ์ต่าง ๆ คงมีมากขึ้น ความรู้สึกคงเริ่มถูกแบ่งย่อยมากขึ้น สำคัญมากที่เราควรจะ “เข้าใจเพื่อให้ลูกยังรู้สึกว่าเราเข้าใจเขามากที่สุดอยู่” ลดการใช้อารมณ์ น้ำเสียง สู้กับลูก เพราะการที่จะทำให้ลูกยอมรับ เราต้องมีวิธีที่ดีกว่า เสียงดังกว่าใส่ ให้ความเป็นพ่อหรือแม่สั่ง เอาการลงโทษมาขู่เพื่อให้ลูกทำตาม

ลูกต้องยอมรับจากใจ และเข้าใจเจตนาของสิ่งที่เราสอนหรือบอกเขาจากใจจริง ๆ ซึ่งหวังยากมาก !!! ที่ลูกจะเข้าใจในครั้งแรก หรือเดือนแรก เราต้องใจเย็น ๆ ทำใจเลย สอนกันยาวไป

★ แม่ต้องคุยกับลูก ★

หนูไม่ชอบใช่ไหมเวลาหนูพูดแล้วไม่มีใครฟัง แล้วไม่มีใครคิดว่าสิ่งที่หนูคิดมันโอเค หนูไม่ชอบใช่ไหมลูกเวลาที่แม่หรือพ่อเสียงดังใส่ หรือสั่งให้หนูเลิกทำอันนั้น ไม่ทำสิ่งนี้ หนูไม่ชอบแม่รู้ ไม่มีใครชอบเหมือนกันลูก

แม่จะบอกเคล็ดลับให้นะ ถ้าอยากให้ผู้ใหญ่ฟังหนู แบบหนูไม่โดนว่าว่า “เถียงอีกแล้ว” หนูต้องพูดด้วยเสียงดี ๆ ไม่เสียงดัง ไม่หงุดหงิด เพราะผู้ใหญ่เนี่ยนะ เขาจะฟังคนที่มีเหตุผล มีอารมณ์ที่สงบรู้ไหม ? ก่อนจะอธิบายอะไรพ่อหรือแม่ ในแบบที่หนูคิด หายใจลึก ๆ ก่อนลูก ตั้งสติ แล้วคิดเลยว่า ฉันจะพูดให้แม่กับพ่อ ฟังให้เขาไม่ดุฉัน

ถ้าไม่พอใจ หงุดหงิด โมโห อารมณ์เสีย ไม่อยากคุย บอกแม่เลย ตอนนี้หนูไม่โอเคนะแม่ ยังไม่คุยเรื่องนี้ หรือบอกพ่อเลยหนูยังไม่พร้อมคุยนะพ่อ เดี๋ยวพร้อมจะมาคุยด้วย คือบอกว่าหนูขอเวลานอก

หลังจากที่แม่ยุ้ยใช้วิธีนี้มาสักระยะ เริ่มรู้สึกว่า เสียงปะทะกันระหว่างสองพ่อลูก หรือตัวแม่เองกับลูกเริ่มลดลงนะคะ เราต้องพยายามดึงตัวเองออกจากอารมณ์ด้วย ภาพสมัยเราโดนว่าด้วยคำเดียวกันว่า “เถียงอีกแล้ว พูดไม่ฟัง แล้วยังจะเถียงอีก” มันวิ่งผ่านเข้ามาในหัวเลย เลยนึกดูว่าสมัยนั้นเราไม่ได้คิดว่าเราเถียงนะ เราแค่อธิบายไง เราคิดแบบนี้ ทำไมต้องว่าเราเถียงด้วย

ท่าทีของการเถียง และ การอธิบายมันต่างกัน แต่การควบคุมตัวเองของเด็กในวัยรุ่นตอนต้น อาจจะทำได้ไม่ดีนัก ไม่ต้องคิดอะไรมาก ผู้ใหญ่วัยกลางคนอย่างเราบางทีก็คุมไม่อยู่เหมือนกัน ดังนั้น เว้นระยะให้ลูก เข้าใจเขาในวัยของเขา เราจะได้อยู่ด้วยกัน ด้วยรอยยิ้มมากกว่า เสียงทะเลาะ

เอาใจช่วยคุณแม่วัยรุ่นทั้งหลายนะคะ

#แม่ยุ้ยThePlatuStroy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เราใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์เรากี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน เราก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของเรากี่คน กี่ครั้ง

Save