มนุษย์แม่รำพึง

รู้ (จัก) อารมณ์ตัวเอง 

แม่ยุ้ยเริ่มสอนเรื่องอารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจให้ปลาทูตั้งแต่เตรียมอนุบาล
เพราะเด็กยังไม่รู้จักสิ่งที่เกิดขึ้นในใจตัวเอง
ไม่พอใจก็ร้องไห้ แสดงอาการทางกาย เช่น สะบัดมือ ดีดขา
และพาลมาถึงดีดแม่ ดีดพ่อ นั่นเอง

แม่ได้แนวคิดนี้มาจากการเข้าคอร์สอบรมเรียนรู้พฤติกรรมเด็กวัยอนุบาล
หลังจากนั้นก็ได้แนวทางมาใช้ ปราบความเฮี้ยวของปลาทู

เวลาลูกโกรธ แม่จะค่อย ๆ ถามว่า

หนูรู้สึกยังไงลูก (หน้างอ คอหัก น้ำตาหยดแหมะ)
หนูรู้สึกโกรธอยู่ใช่ไหม ? ที่แม่ไม่ให้ทำแบบนี้
หนูอยากจะทำใช่ไหมลูก

การถาม ทำเพื่อให้ลูกได้ “ระบาย” ความรู้สึกออกมา
และทำให้ลูกได้รู้ว่า “อาการที่ตัวเองเป็นอยู่ตอนนี้คือ โกรธ”

เด็กก็จะมีข้อมูลในตัวเองแล้วว่า ถ้ารู้สึกแบบนี้ เรียกว่า “โกรธนะ”

แรก ๆ แม่ถามไปก็ไม่ได้คำตอบอะไรมาคะ นอกจากเงียบ
แล้วก็ร้องไห้ ดิ้นไปดิ้นมา สบัดซ้ายขวา

แต่พอหลังจากนั้น พอลูกได้เริ่มตอบคำถาม
สิ่งที่ออกมาจะพร่างพรูออกมาเลยคะ

ก็หนูอยากทำแบบนี้ ทำไมแม่ไม่ให้ทำ
หนูอยากเล่น ทำไมเพื่อนไม่ให้หยิบ
หนูโกรธนะที่แม่ทำแบบนี้

หลัง ๆ เริ่มรู้จักให้ชื่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นได้แล้ว
แล้วพอเด็กได้ระบายสิ่งที่รู้จัก รู้จักมันมากขึ้นแล้ว
การได้ปลอดปล่อยทางการพูด ก็เหมือนเราแม่ ๆ ที่ได้เม้าส ได้บ่น
อารมณ์มันก็จะค่อย ๆ เบาลง เบาลง

คำถามเพิ่มหลังจากนั้น แม่ก็จะมีห้อยท้ายว่า

ตอนแรกโกรธก้อนใหญ่มากเลยเนาะ
ตอนนี้โกรธก้อนเล็กลงแล้วใช่ไหมลูก
ทิ้งระยะไปอีกสักพัก ลองถามใหม่ โกรธหายไปรึยังนะลูก

ลูกจะได้เรียนรู้การรู้จักดีกรีของอารมณ์ด้วย
มากแล้วก็จะค่อย ๆ ลดลง ลดลง จนมันหายไป

ความเสียใจ ไม่พอใจ ก็ทำเช่นเดียวกันนะคะ
ตั้งคำถามเมื่อเกิดอารมณ์นั้นๆ

หนูเสียใจใช่ไหมลูก
เสียใจเพราะอะไรคะ
ทำไมหละ ?

แรก ๆ แม่อาจจะรู้สึกติด ๆ ขัด ๆ ไม่รู้จะถามท่าไหนยังไงดี
ทำไปเรื่อย ๆ คะ เดี๋ยวเราจะคล่องขึ้นเอง

พอถึงระดับที่ลูกรู้จักดีกรีของอารมณ์ตัวเองแล้ว
เราก็ค่อย ๆ เพิ่มคำถามต่อไป เมื่ออารมณ์เหล่านั้นหายไปแล้ว

ไหนเรามาช่วยกันคิดซิลูกว่า
ถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก เราควรจะทำยังไงกันดี ?
หลายอย่าง คำถามสุดท้าย สามารถช่วยได้เยอะนะคะ
เคยมีครั้งนึง ปลาทูตอบแม่ว่า

ถ้าหนูไม่ดื้อ เชื่อฟังแม่ ทำตามแม่ แม่ก็จะไม่ขัดใจ
แล้วหนูก็จะไม่โกรธ พอไม่โกรธเราก็ไม่ต้องทะเลาะกัน

นี่หละคะ .. ผลลัพธ์ คือลูกรู้จัก หาสาเหตุของอารมณ์
และถึงวันนี้จะยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นได้
แต่การได้ “รู้จัก” อารมณ์ของตัวเอง เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

เพราะมีผู้ใหญ่หลายคน ควบคุมตัวเองไม่ได้
เมื่ออารมณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ปล่อยใจเตลิดเปิดเปิงไปกับอารมณ์
สุดท้ายหลายต่อหลายกรณี ก็จบด้วยความสูญเสีย

มาฝึกเด็กของเรากันคะ และก่อนจะฝึกลูก
เราก็ฝึกตัวเองไปด้วยนะคะ

เมื่อ อารมณ์ปรี๊ดจะมา ให้รู้
ถามตัวเองซิ ปรี๊ดลูกทำไม รับมือไหวไหม ไม่ไหวตั้งหลักก่อน

แล้วเมื่อทั้งเราและลูก รู้จักอารมณ์แล้ว
สักวันเราก็สามารถฝึก “รู้ ทัน อารมณ์ได้”
ใจที่หลุดเตลิดเปิดเปิงก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ คะ
แต่ควบคุมได้เลยนี่คงยากนะคะ
อย่าได้คาดหวังอะไรไปมาก แค่ตั้งใจฝึกเพื่อ เราและลูกก็พอคะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เราใช้แค่ดูว่ามีคนเข้ามาดูเว็บไซต์เรากี่คน กี่ครั้ง และดูหน้าเว็บไหนบ้าง ถ้าคุณปิดการใช้งาน เราก็จะไม่เห็นว่ามีคนเข้ามาอ่านบล็อกของเรากี่คน กี่ครั้ง

Save