อะไรที่เราไม่ควรทำกับคนอื่น
อะไรที่เราไม่ควรทำกับคนอื่น ⁉️
คำถามนี้ สำคัญมาก ⁉️ ถ้าเราสามารถสอนลูกได้จากคำถามนี้ ลูกจะเข้าใจในหลาย ๆ ประเด็นที่สำคัญในการใช้ชีวิตร่วมกันผู้อื่นในสังคมเลยค่ะ
⭕️ หนูชอบถูกเพื่อนแย่งของจากมือไหมลูก ? หนูไม่ชอบ แม่ก็ไม่ชอบ และแม่ก็คิดว่าเพื่อน ๆ ก็ไม่ชอบนะลูกนะ เราไม่แย่งของจากมือเพื่อนกันนะลูก ถ้าหนูอยากได้ อยากขอเล่นบ้าง บอกเพื่อนดี ๆ นะลูกนะ รอเพื่อนเล่นเสร็จ แล้วเขาให้เรายืมเล่นต่อ ผลัดกันเล่นนะลูก
⭕️ หนูว่าถ้าเพื่อนพูดใส่หนูด้วยคำพูดแบบนี้บ้าง หนูว่าเพื่อนจะรู้สึกยังไงเนี่ย เขาจะเสียใจไหม ? เขาจะโกรธไหม ? เขาจะร้องไห้ไหม ? ฟังแล้วมันรู้สึกไม่ดีใช่ไหมลูก แบบนี้แม่ว่าเราไม่ควรพูดแบบนี้กับใครนะลูกนะ บอกกันดี ๆ คุยกันดี ๆ ถ้ายังโมโหอยู่ก็อย่าเพิ่งคุยกันนะ รอใจเย็น ๆ ก่อนแล้วค่อยคุย
⭐️ นี่เป็นการยกตัวอย่างการชวนลูกคุยนะคะ บางครั้งพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก อาจจะมาจาก “ความไม่เข้าใจ” หรือ “อารมณ์ในด้านลบ” ที่ยังหาวิธีจัดการไม่ได้ ควบคุมตัวเองไม่ดีพอ เราต้องช่วยลูกค่ะ ชี้ให้เขาเห็น สะท้อนให้เขามองว่า ถ้าการกระทำแบบนั้นเกิดขึ้น มันส่งผลกระทบอะไรบ้าง อย่างแรกเลยคือ กระทบใจใครบ้างที่ใกล้ที่สุด สอนให้มองย้อนกลับมาหาตัวเอง “ถ้าเราโดนบ้าง เราจะรู้สึกแบบไหน”
✅ ถ้าจุดเริ่มต้นมาจากการ “เห็นอก เห็นใจกัน” ปัญหาหลาย ๆ อย่างจะไม่เกิดขึ้น เช่นการ กลั้นแกล้ง หรือ Bully ในรูปแบบต่า ๆ ที่เกิดขึ้นกันอยู่ในสังคมโรงเรียน หรือสังคมวงกว้างที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้
🎀 เริ่มต้นจากบ้านเรา สอนลูกเรา เห็นความสำคัญกันในทุก ๆ บ้าน เวลาเด็ก ๆ ไปเจอกันที่โรงเรียน ก็จะอยู่ร่วมกันแบบ “รักกัน เป็นเพือนกัน เห็นใจกัน พยายามเข้าใจกัน”
⭐️⭐️ ปัญหาการกลั้นแกล้งกัน หรือ bully กันมันมาในหลายรูปแบบมากจริง ๆ และแลดูจะหนักขึ้นเรื่อย ๆ หันมาให้เวลากับลูกอย่างใกล้ชิดกันให้มากขึ้นนะคะ จะได้รู้ว่า ลูกคิดอะไรอยู่ในใจบ้าง ลูกเจออะไรมาบ้างที่โรงเรียน
📌 แม่ยุ้ยเชื่อว่า ไม่มีแม่คนไหน อยากให้ลูกตัวเองถูกแกล้ง และก็ไม่อยากให้ลูกตัวเองไปแกล้งลูกคนอื่น ไม่อยากให้เป็นทั้งผู้ถูกแกล้งและผู้กลั้นแกล้ง
⭐️ ให้เวลากับลูกให้มากขึ้น ใช้เวลาคุณภาพร่วมกันกับลูกนะคะ
#แม่ยุ้ยThePlatuStory